โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดในประเทศ และต่างประเทศ โดย ศ.ศ.ป. ประจำปี 2557 10 SACICT PROTOTYPES 2014 การออกแบบที่ผสมผสานระหว่างงานชนเผ่าแบบ ดั้งเดิมและงานออกแบบในแนวใหม่ที่แตกต่างและ สร้างสรรค์ (Craft + Designer Gangster) การพัฒนาผลติภณัฑ์ศิลปหัตถกรรมรกัษ์ สิ่งแวดล้อม (Green Craft) โครงการนี้เป็นการส่งเสริมและสร้างแนวทางให้กลุ่ม ชุมชนได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูป แบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดใน ปัจจุบันที่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศมีการ ตระหนักถึงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) ผลงานต้นแบบได้มี การนำไปจัดแสดงในงาน Interior lifestyle Tokyo ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาภายใต้แนวคิด GREEN CRAFTS: THE RICE CULTURE เน้น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีแห่งข้าวและวัฒนธรรม การกินการอยู่ของไทย ในรูปแบบ “สำรับกับข้าว” เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของตกแต่งที่ เกี่ยวข้อง ผ่านมุมมองด้านความต้องการของตลาด ญี่ปุ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานลิเภา (Lipao Development Project) ความงามทางคุณค่าหัตถศิลป์และความประณีตของ การจักสานลิเภาได้เป็นที่ประจักษ์ อันเนื่องมาจาก พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ มีการอนุรักษ์และพัฒนางานจักสานย่านลิเภาให้เป็น อาชีพเสริมแก่ราษฏรในเขตภาคใต้ จนทำให้ ผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาได้รับความนิยมและเป็นที่ ยอมรับในกลุ่มงานฝีมือชั้นสูง การส่งเสริมคุณค่า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ได้จัดทำรูปแบบของ ย่านลิเภาให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อขยายฐานผู้ ใชไ้ปส่คูนร่นุใหม่ที่นิยมงานฝีมือที่มีความหรูหราและ ทันสมัยแต่ต้องการอัตลักษณ์เฉพาะตัวมีความเป็น ไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สำหรับงาน Maison & Objet 2014 กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สำหรับงาน Maison & Objet ได้ดำเนินการมาอย่าง ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยเน้นแนวคิดหลักในการนำ เสนอเอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทยสู่ตลาดต่าง ประเทศ เน้นที่รูปแบบร่วมสมัย มีความประณีตสูง ตามมาตรฐานงานส่งออก สามารถใช้งานได้จริงและ ตรงกับแนวโน้มความต้องการในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะการนำต้นแบบไปทดลองตลาดยุโรปซึ่ง ถือเป็นผู้นำเทรนด์ในตลาดโลก ปีนี้นำเสนอใน แนวคิด (Concept) “CHROMATIC DANCE” แนวทางการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความ งดงามขององค์ประกอบต่างๆ ในศิลปะการแสดงและ การละเล่นของไทย เช่น ศิลปะเครื่องแต่งกายการ แสดงโขน ชุดลิเก ผีตาโขน สะท้อนรายละเอียดของ งานหัตถกรรมช่างฝีมือ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของ คนไทยมีสืบทอดกันมาช้านาน เป็นการสืบสานทาง วัฒนธรรมที่งดงาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมร่วม สมัยจากวิถีชนเผ่า (Global Ethnics) ทักษะภูมิปัญญาในด้านงานหัตถกรรมที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าต่างๆ ล้วนเปี่ยไปด้วย เสน่ห์ เมื่อผสมผสานการออกแบบในแนวร่วมสมัย จึงสอดคล้องกับกระแสนิยมสินค้าที่เป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์ (Ethnics Style Trend) ชุมชนสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์เป็นแนวทางในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ อันจะนำมาซึ่งรายได้แก่กลุ่มชุมชนและ ตอบสนองความต้องการของตลาดต่อไป การดำเนิน โคงการในปีนี้หัวข้อ (Theme) “IN Accessories” เน้นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นเครื่องตกแต่ง ร่างกายที่มีรูปแบบและเทคนิคอันได้รับแรงบันดาล ใจและร่วมสร้างสรรค์จากกลุ่มชนเผ่าและชาติพันธุ์ เช่น เครื่องประดับ กระเป๋า ผ้าพันคอ หมวก ฯลฯ ภายใต้แนวคิด (Concept) “Craftster” แนวทาง
SACICT
To see the actual publication please follow the link above