Page 108

SACICT

รายละเอียดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมรักษ์ สิ่งแวดล้อม ปี 2557 (Green Crafts) ความเป็นมาของโครงการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Craft) เป็นการส่งเสริมและสร้างแนวทางให้ กลุ่มชุมชนได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ที่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศมีการตระหนักถึงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly) ผลงานต้นแบบได้มีการน��ำไปจัดแสดงในงาน Interior lifestyle in Tokyo ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วัตถุประสงค์ 1. สร้างความเข้าใจและยกระดับการผลิตงานศิลป หัตถกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้ตรงกับแนว โน้มตลาดเรื่องสิ่งแวดล้อม แนวคิด GREEN CRAFTS: THE RICE CULTURE การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมรักษ์สิ่ง แวดล้อมภายใต้หัวข้อ “The Rice Culture” เน้น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิถีแห่งข้าวและวัฒนธรรม การกินการอยู่ของไทย ในรูปแบบ “ส��ำรับกับข้าว” เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และของตกแต่งที่ เกี่ยวข้อง ผ่านมุมมองด้านความต้องการของตลาด ญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญ Mr. Junya Kitagawara ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการออกแบบสินค้า เครื่องใช้และของตกแต่งบ้านจากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันด��ำรงต��ำแหน่งประธานบริษัท Art Resources Inc. มีประสบการณ์ทางด้านการตลาดและการ พัฒนาสินค้าเครื่องใช้และของตกแต่งบ้าน การจัด ตกแต่งวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าชั้นน��ำในตลาด ญี่ปุ่นมากกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังเป็นผู้แทนจาก รัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการพัฒนาสินค้าของญี่ปุ่น (JETRO) พัฒนาสินค้าสู่ตลาดทั้งในประเทศญี่ปุ่น และในทวีปยุโรป นักออกแบบ 1. ดุลยพล ศรีจันทร์ อาจารย์และนัก ออกแบบผู้ก่อตั้งแบรนด์ PDM 2. เดชา อรรจนานันท์ นักออกแบบผู้ก่อตั้ง แบรนด์ THINKK รายชื่อชุมชน 1. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตภัณฑ์ใยกัญชง บ้าน ห้วยทราย จ.เชียงใหม่ 2. กลุ่มถักทอกระเหรี่ยง บ้านหล่ายแก้ว จ.เชียงใหม่ 3. กลุ่มผลิตฝ้ายย้อมฮ่อมธรรมชาติ ศาลาแก้ว วรรณา จ.แพร่ 4. กลุ่มผลิตภัณฑ์หญ้าแฝก บ้านแกใหม่ จ.พะเยา 5. กลุ่มผลิตภัณฑ์ใบบัวศิรดา จ.ล��ำปาง 6. กลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองกล้วย บ้านตอสยาม จ.กาฬสินธุ์ 7. กลุ่มหัตถกรรมสีย้อมธรรชาติ บ้าน หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ 8. กลุ่มหัตถกรรมจักสานใบลาน บ้านทับลาน จ.ปราจีนบุรี 9. เซรามิคดินบางกล��่ำ จ.สงขลา 10. หัตถกรรมกระจูดวรรณี จ.พัทลุง 108 SACICT PROTOTYPES 2014


SACICT
To see the actual publication please follow the link above